เราถนัดเรื่องทำอาหาร เราเลยทำอาหารเพื่อแบ่งปัน

สถานการณ์โควิดที่อาละวาดไปทั้งโลกครั้งนี้ แม้จะทำให้หลายอย่างชะงักงันหรือสะดุดจนต้องตั้งหลักหยุดพัก แต่อีกมุมหนึ่งก็ทำให้เราได้ทบทวนว่า อะไรเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรได้พินิจพิเคราะห์ว่า จุดอ่อนอะไรในธุรกิจของเราที่ยังขาดการรับมือ ต้องเพิ่มเติมองค์ความรู้อะไร จัดการกับความเสี่ยงตรงจุดไหน ตูน – ภาวลิน ลิมธงชัย มาสะกี พอแล้วดี The Creator รุ่น 2 ผู้ร่วมก่อตั้ง หอม โฮสเทล แอนด์ คุกกิ้ง คลับ เป็นอีกคนที่ต้องจัดการรับมือกับปัญหา ไหนจะต้องถูกปิดกิจการโฮสเทล ไม่มีนักท่องเที่ยว ไม่มีคนเดินทาง ดูแลพนักงานและค่าใช้จ่าย แต่เหตุผลสำคัญอะไรที่เขาช่วยพนักงานทุกคนลุกขึ้นมาทำกิจกรรมที่ช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสให้เข้าถึงอาหารปัจจัยสำคัญในยามวิกฤตเช่นนี้

โครงการ Cooking is sharing by HOM and friends เล่าให้ฟังหน่อยว่ามันเข้าหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขอย่างไร

รู้จักตนก็คือ ตามแบรนด์ของตัวเองคือ HOM ใช้หลักว่า Cooking is sharing อยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าทำอะไรที่เป็นอาหารและเกี่ยวกับการแบ่งปันได้ เราก็จะทำสิ่งนั้น เพราะว่าเด็กๆ เรามีความถนัดในเรื่องของการทำอาหาร ห่วงที่สอง มีเหตุมีผล ก็ต้องมีเหตุมีผลว่า ไม่ใช่ทำแจกฟรี เพราะถ้าทำแจกฟรีก็คงเจ๊ง เราต้องทำให้เด็กๆ เราอยู่รอดด้วย เลยทำแบบมีกำไร แต่ว่าก็ต้องคิดว่าถ้ามีกำไรแบบเป็นราคา สมมติ B2B ปกติขาย 40 บาท อันนี้ก็ขายเพียงแค่ 25 บาท เพราะคิดว่าให้กำไรน้อย เพื่อที่คนจะได้รู้บริจาคแล้วถึงหลายคน จะได้อยากช่วยกันบริจาคเยอะๆ แล้วทำแบบนี้ ภูมิคุ้มกัน คือ ทำแล้วชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าภาพ บริจาคเงินแล้วได้กี่บาท เพราะว่าเป็นภาพพจน์ของแบรนด์เราด้วยว่า เราทำสิ่งนี้ไปตามหลักของแบรนด์เรานะว่า Sharing อยากให้ทุกคนเห็นว่า HOM ยังคงยึดหลักนี้อยู่ แล้วก็เป็นเหมือนเดิมคือ ใช้การทำอาหาร Connect กับคนทุกคน

ในอีกมุมคือในเมื่อ COVID-19 กระทบกับธุรกิจโฮสเทลคำถามคือการลุกขึ้นมาทำช่วยผู้อื่นทำไปแล้วได้อะไร

ยังทำให้ไม่ต้องปิดกิจการ ถ้าคิดถึงแต่ตัวเองก็คงปิดกิจการ (ซึ่งมันง่ายกว่า) ปิดไปเลย มันง่าย ไม่ต้องลำบาก ทำงานประจำสบาย ไม่ต้องต่อสู้ ไม่ต้องทำอะไรเลย แล้วก็ให้เด็กพัก คือ ตอนนี้ใครๆ ก็ทำ Leave Without Pay ทั้งนั้นแหละ แต่ทำไปมันก็ไม่ยั่งยืน เพราะว่าเด็กอาจจะไม่มีกิน พูดง่ายๆ สิ่งที่ได้เงินจากกิจกรรม Cooking is sharing คือ ให้พอมีจ่ายน้องๆ ได้ (ถามว่าได้กำไรไหม คงไม่ได้กำไรหรอก) มันไม่ใช่ว่าทำให้เรามีกำไรไง มันคิดว่าให้เข้าเนื้อตัวเองน้อยที่สุด แล้วน้องๆ ยังได้รักตัวเองว่ายังมีงานทำ มีเงินเดือน แต่ก็ต้องขอบคุณรัฐบาลที่ว่าให้มา 5,000 บาทด้วย พอรวมแล้ว เขาก็ยังคิดว่ายังได้ไม่ต่างจากเดิมมาก ก็เลย WINWIN

การเป็นพอแล้วดี The Creator ทำให้คุณมีวิธีการรับมือกับวิกฤติที่เข้ามากระแทกธุรกิจของคุณอย่างไร

พอแล้วดีคือสานต่อสิ่งที่พ่อทำ คือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เราก็ยึดถือสิ่งที่ในหลวงสอน แล้วก็สิ่งที่ยังยึดให้เรายังคงเป็นคนอย่างทุกวันนี้คือจะสานต่อสิ่งที่พ่อทำ ช่วงที่เจอวิกฤติตอนแรกคือมึน เศร้า ร้องไห้ what the hell! แต่พอถ้าคิดถึงในหลวงก็เหมือนกันคือเวลาเราเกิดวิกฤติ มันก็คงเป็นความรู้สึกก่อน แล้วก็เริ่มไปมองคนข้างๆ แล้ว แล้วก็จะรู้ว่า จริงๆ เราก็ไม่ได้ลำบากขนาดนั้น แล้วก็คิดว่าทำไมเราไม่เริ่มออกไปลองสู้ แล้วช่วยคนอื่น ช่วยใคร ก็ต้องช่วยลูกน้องของตัวเอง โชคดีว่ามีกัลยาณมิตรที่ดีที่ช่วยคิดโปรเจ็กต์นี้ด้วยกัน และทำให้เกิดขึ้นมาได้ ก็เลยกลายเป็นว่าพอเริ่มทำ เริ่มให้ก่อน กลายเป็นว่าโปรเจ็กต์นี้ได้เจอกับคนดีๆ เยอะ แล้วก็มีแต่คนเข้ามาช่วยเรากลับ 

เลยรู้สึกว่า มันเหมือนเลยกับสิ่งที่สังคมพอแล้วดีที่เราเจอมาตลอด ก็คือพอมาเจอคนคิดดีทำดีด้วยกัน เราช่วยเหลือทุกคน ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง มันก็เลยทำให้เราเจอแต่สังคมดีๆ มันเลยรู้สึกว่ามันเหมือนเดิม เราก็จะเริ่มเห็นเพื่อนๆ เราแต่ละคนทำอะไรดีๆ เหมือนกัน ก็เลยเป็นพลัง (มันเลยจุดประกายกันไปกันมา) เราก็พยายามคิดว่าเราช่วยอะไรเขาได้บ้าง มันเหมือนฟอร์เวิร์ดไปเรื่อยๆ เด้งไปเด้งมา เราเข้าใจว่า ทุกคนทีแรกน่าจะอารมณ์เดียวกัน คือมันด้นไป แล้วมันก็อยู่ที่ว่าใครจะเลือกวิธีไหน บางคนก็เลือกช่วยตัวเองก่อน (ซึ่งจริงๆ แล้วการช่วยตัวเองก็ไม่ผิดใช่ไหม) ก็ไม่ผิด เรียกว่าประเมินความเสี่ยงไว้แบบไหน (เดี๋ยวคนอ่านเราเข้าใจว่า นี่ถ้าไม่ช่วยเหลือสังคมนี่คือผิดใช่ไหม) ก็คือแล้วแต่ว่าเราประเมินความเสี่ยงแบบไหน เราประเมินแล้วคิดว่าเราพอเข้าเนื้อได้ เราก็เลยคิดว่าถ้าเข้าเนื้อได้ เรายังยินดีช่วยเหลือคนอื่นต่อ แต่เราเข้าใจคนที่เลือกช่วยตัวเองก่อน เพราะว่าเขาคิดถ้าเขาเลือกแบบเรา เขาอาจจะสายป่านไม่ยาวพอเท่าเรา ก็แล้วแต่สภาพของแต่ละคน ซึ่งจริงๆ เป็นสิ่งที่เราพยายามบอกกับน้องๆ พี่ๆ รอบๆ ตัวเรา ในสังคมพอแล้วดีว่า บางคนก็ให้สุดๆ ก็บอกว่ามันต้องให้แล้วคิดถึงด้วยว่า ถ้าตัวเองให้ๆ มันก็กลายเป็นไม่ยั่งยืน ก็กลับมาเรื่องเดิม ยั่งยืนหรือเปล่า

ขณะเดียวกันที่ HOM กับเพื่อนๆ น้องๆ ในโฮสเทลที่ช่วยกันทำอาหารแล้ว เวลาที่เราลงพื้นที่ไปแจกข้าว เราเห็นอะไรบ้าง เราเห็นความต้องการ เห็นความลำบาก อยากให้สะท้อนมุมมองหน่อยว่า ที่เราลงไปทำอะไรดีๆ หรือการไปทำกิจกรรมพวกนี้ เราเห็นมุมมองอะไรบ้าง

จริงๆ ตอนที่บอกว่ายังมึนตึ้บ เอาเข้าจริงก็ไม่ถึงอาทิตย์ แล้วก็ลุกขึ้นมาเลย ก็ยังมึนๆ อยู่ แต่พอออกไปข้างนอกจริงๆ คือตอนนั้นยังไม่มีข่าวอะไรรุนแรง ได้เห็นว่าทุกคนลุกหรือเปล่า มันก็เลยออกไปลงพื้นที่จริง พอลงพื้นที่จริงเลยเข้าใจว่า โอโห คือตอนนั้นจะไม่รู้สึกว่ามันหนัก จนลงออกไปแล้วจะเห็นว่าหนัก ตอนแรกๆ มันยังไม่ค่อยเริ่มมา มันแค่รู้ว่ากูโดนหนัก แต่พอออกไปกลายเป็นว่าคนอื่นหนักกว่าเราเยอะเลย การลงพื้นที่จะเห็นว่า พ่อแม่เห็นเราออกมาก็จะด่าเราว่า บ้าหรอมี COVID-19 แต่เราก็จะรู้สึกว่า ถ้าเราทำสิ่งนี้ช่วยคนอื่น เขาไม่มีกินแล้ว จะตายอยู่แล้ว ถ้าเราป้องกันดีๆ มันก็ออกไปได้นะ ก็เห็นคนที่ลำบากเยอะกว่า เราเลยรู้สึกว่า บ้าหรอ เราโดนแค่นี้สบาย แต่คนอื่นเขาไม่มีแม้กระทั่งว่าน้ำจะกินแล้ว (ไม่มีแม้กระทั่งว่าอุปกรณ์ป้องกันตัว) ไม่ได้สนอะไรแล้ว บอกเราจะตายกันหมดนะถ้าไม่ต่อแถว แต่เขาไม่ได้ห่วงแล้วไง กรูเข้ามา การที่เขากรูเข้ามาโดยที่ไม่กลัว COVID-19 กับคำว่าตกพื้นแล้วกวาดพื้นกิน สองช็อตนี้คือช็อตที่ว่า อดตายมันน่ากลัวกว่าโรค

ช่วยเล่าหน่อยว่ามีวิธีการปรับตัวแล้วคิดว่าจะพา HOM ในระยะยาวไปอย่างไรตัวจะปรับตัวธุรกิจอย่างไร

วิกฤตินี้มันเป็นเรื่องที่ดีในแง่ว่า เราคิดมานานแล้วว่า เราอาจจะลดความเป็น Domestic ลง แล้วไปเพิ่มรายได้ทางฝั่ง คือจริงๆ รายได้ฝั่งเช่าครัว ทำอาหาร ห้องเดี่ยว มันโอเคแล้ว แต่เราไม่กล้า เพราะคำว่า ถ้าไม่มี Dorm เราอยู่ได้จริงหรอ เพราะว่าเรา Weight แล้ว Margin มันน้อยมาก ไม่ค่อยคุ้ม แต่เจอความเยอะ แล้วโดน มันเลยรู้สึกว่า มันคุ้มไหม ที่มาต่อราคาจนเราไม่มีคุณค่านะที่เราให้เยอะ คิดมานาน จนมาพอโดนแบบนี้แล้วมันบังคับ สถานการณ์ทำให้เราเห็นว่าไม่มี Dorm เราก็อยู่ได้ โดยที่ไม่ต้องเพิ่มห้องเดี่ยว มันเลยทำให้เราเริ่มคิดว่า จริงๆ เหลือแค่ห้อง Dorm  ห้องเดียว เอาแค่ไม่เกิน 10 คน แล้วขายราคาเท่านี้ ไม่ลด มันได้คนที่เราเอาใจได้เต็มที่ มันเจอ Worst Case ที่สุดแล้ว สถานการณ์ที่แย่ยังพออยู่ได้แล้วนี่ ตอนนี้ได้ลองทุกโมเดลเลย เพราะว่าต้องดิ้นรนทุกทาง ถ้าไม่เกิดก็ใช้ชีวิตแบบอย่างเพิ่งลองเลย ก็มีรายได้อยู่นี่ ก็ยังอยู่ได้นี่ (Safe Zone) พออย่างนี้ก็รู้สึกว่าเป็นวิกฤตที่ดี เหมือนทุกคน Set Zero แล้วชีวิตก็หันมาคุยกันมากขึ้น แค่เหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้รู้สึกว่าสังคมก็คล้าย ๆ ตอนถ้ำหลวง มันเป็นวิกฤตที่มองแล้วรู้สึกว่า การช่วยเหลือเป็นสิ่งที่ดี

เช่าพื้นที่ครัวกลาง Cloud Kitchen ได้ที่
https://www.facebook.com/homcookinghostel/

*เครดิต รูปปก Urban Creature